วิทยาศาสตร์ - วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้ที่ได้มาจากการสังเกตุปรากฎการณ์ธรรมชาติ นำมาค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผล แล้วจึงนำมาจัดเป็นระเบืยบเป็นหมวดหมู่
วิทยาศาสตร์ ยังแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ
1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง ทั้งในโลก นอกโลก ทั้งสิ่งมีชีวิต และ ไม่มีชีวิต
2 วิทยาศาสตร์สังคม ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สังคมมนุษย์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต และยังแยกย่อยเป็นศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมีความก้าวหน้าสูงมาก ช่วยให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น สะดวกรวดเร็วและหลากหลายมากขึ้น เช่นการสื่อสาร การประชุมทางไกลที่มีทั้งภาพและเสียง การคมนาคมโดยเครื่องบิน รถไฟความเร็วสูง กำลังการผลิตก็สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีอยู่ลันตลาด บางครั้งผู้ผลิตถึงกับต้องนำผลผลิตไปทำลายทิ้ง เพื่อรักษาระดับราคา ในขณะที่คนบางกลุ่มไม่มีอาหารกิน ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากๆ ดูๆไปคล้ายกับสังคมคนบ้า แทนที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าขึ้น กำลังการผลิตสูงขึ้น ผูัคนน่าจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ขึ้นเพราะมีมากจนล้น แต่ในความเป็นจริงผู้คนส่วนใหญ่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ยังมีผู้คนตกงาน ปรากฏการ์ณต่างๆดังกล่าวนี้ บ่งบอกถึงความผิดปกติของสังคม และต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สังคมมาวิเคราะห์หาสาเหตุและหาวิธีการแก้ปัญหา นี่เป็นบทบาทหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์สังคมที่จะช่วยกันคลี่คลายไขปัญหา เปรียบเสมือนนายแพทย์ที่ต้องมีความรุ้เรื่องร่างกายมนุษย์ โครงสร้าง อวัยวะและความสัมพันธุ์ของระบบต่างๆในร่างกาย ถึงจะรู้อาการของโรคและหาวิธีรักษาได้ถูกต้อง หรือ ช่างซ่อมรถ ก็ต้องรู้โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆและระบบการทำงานของเครื่องยนต์ ถึงจะรู้อาการเสียของรถและซ่อมได้ถูกต้อง
นักวิทยาศาสตร์สังคมก็เช่นกัน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของสังคม สถาบันและองค์กรต่างๆที่ประกอบเป็นสังคม ความสัมพันธุ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและสถาบันต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีอิทธิพลต่อกัน ตามหลักอิททัปปัจยตา